การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช เป็นการผ่าตัดชนิดหนึ่งและเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีข้อดีกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง ในแง่ของอาการปวดแผลผ่าตัดที่น้อยกว่า ใช้เวลาในการพักฟื้นสั้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น และอาจทำการรักษาในแบบผู้ป่วยนอกได้ในบางกรณี
ข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัด
1. เพื่อการวินิจฉัย ในกรณีที่ต้องการตรวจหาความผิดปกติในช่องท้องและอุ้งเชิงกราน
– อาการปวดท้องในอุ้งเชิงกรานเฉียบกลันหรือเรื้อรัง
– ภาวะมีบุตรยาก
– สงสัยการตั้งครรภ์นอกมดลูก เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกรังไข่ เนื้องอกมดลูก
2. เพื่อการรักษา
– การผ่าตัดเลาะผังผืด การทำหมันหญิง
– การผ่าตัดเลาะหรือ ทำลายเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (lysis adhesion/cautery)
– ผ่าตัดท่อนำไข่ในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก,ท่อนำไข่ตีบตัน(Salpingectomy)
– ผ่าตัดเลาะถุงน้ำรังไข่/chocolate Cyst (Cystectomy)
– ผ่าตัดเนื้องอกรังไข่ (Salpingooophorectomy)
– ผ่าตัดเลาะเนื้องอกมดลูก (Myomectomy)
– ผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy)
– ผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช
– มะเร็งโพรงมดลูก
– มะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มต้น
– ผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูก (Hysteroscope)
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดส่องกล้องได้
- ผู้ป่วยที่มีก้อนขนาดใหญ่ หรือสงสัยว่าเป็นมะเร็ง
- ผู้ป่วยมีภาวะเสียเลือดมาก
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ ระบบการไหลเวียนเลือด
- มีภาวะอ้วนมาก หรือผอมมาก
การเตรียตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจอย่างละเอียดก่อนเข้ารับการผ่าตัดและก่อนวางยาสลบ
- แพทย์จะแจ้งขั้นตอนการผ่าตัด รวมถึงความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นให้ทราบ
- ในผู้ป่วยบางราย อาจไม่สามารถทำการผ่าตัดผ่านกล้องได้ จึงต้องใช้วิธีการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแทน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
ขั้นตอนการผ่าตัด
ผู้ป่วยจะต้องดมยาสลบและนอนบนเตียงขาหยั่ง จากนั้นแพทย์จะทำการเปิดแผลบริเวณใต้สะดือขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วใส่เครื่องมือทางการแพทย์เข้าไป เพื่อให้เกิดพื้นที่สำหรับการผ่าตัด โดยทั่วไป แพทย์จำเป็นต้องเปิดแผลเล็กๆขนาด 5-10 มิลลิเมตร เพิ่ม 2-3 แห่ง เพื่อใส่เครื่องมือช่วยในการผ่าตัด และเมื่อสิ้นสุดการผ่าตัด แพทย์จะนำเครื่องมือออกและทำการเย็บแผล ใช้เวลาในการนอนโรงพยาบาลประมาณ 1-2 วัน
ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
- ภาวะแทรกซ้อนจากการวางยาสลบ
- เป็นอันตรายต่อลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ และเส้นเลือด
- ภาวะแทรกซ้อนจากก๊าซที่ใช้ในการผ่าตัด แต่พบเป็นจำนวนน้อย ประมาณ 0.5 % และส่วนใหญ่จะเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรง